• |
  • 02-009-9000

พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้ามงคล เนื้อว่าน

พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้ามงคล เนื้อว่าน
พระกรุวัดตะไกร เป็นพระกรุเก่าแก่ของ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาแต่โบราณ ดังมาพร้อมกับพระกริ่งคลองตะเคียน ปัจจุบันเรียกว่าหาดูของแท้ๆ กันค่อนข้างยาก วัดตะไกร ตั้งอยู่ที่คลองสระบัว อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แม้แต่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าก็ไม่พบชื่อวัด มีเพียงสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือไว้ เช่น เจดีย์ และพระอุโบสถ ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ ประมาณในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และคงมีการบูรณะกันเรื่อยมาตามลำดับ ที่ปรากฏชัดคือในราวสมัยพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากปรากฏพระปรางค์ร้างอยู่องค์หนึ่งแบบสมัยพระเจ้าปราสาททอง #พระกรุวัดตะไกรพิมพ์หน้ามงคล เล่ากันว่าชาวบ้านเจอพระเนื้อดินวัดตะไกรนี้มาราว 100 ปีกว่า แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ กระทั่งพบแตกกรุออกมาครั้งแรก เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2470 หลังจากนั้นก็พบทยอยขึ้นจากกรุเรื่อยมา พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา พบเป็นเนื้อชินค่อนข้างน้อย ปรากฏว่าผู้ที่บูชาพระติดตัวต่างก็มีประสบการณ์กันมากในด้านอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงได้มีการนำมาขึ้นคอเพราะกลัวภัยสงคราม จากนั้นมา ผู้คนจึงเริ่มแสวงหาและกลายเป็นที่นิยมเรื่อยมา เนื้อหามวลสาร พระกรุวัดตะไกร ที่พบมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และ เนื้อพิเศษแก่ว่าน ซึ่งพระบางองค์มีการลงรักปิดทองมาจากกรุก็มี พุทธลักษณะ พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย พุทธลักษณะโดยรวมนั้นคล้ายคลึงกัน มีความแตกต่างเล็กน้อย ส่วนพระพักตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเป็นชื่อเรียกพิมพ์ขององค์พระ โดยสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าครุฑ ซึ่งจัดเป็นพิมพ์ที่นิยมที่สุด พิมพ์หน้าฤาษี และ พิมพ์หน้ามงคล แต่ความนิยมก็อยู่ที่ ‘พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ’ เนื้อดินเผา เนื่องจากเชื่อกันว่า นอกจากจะอยู่คงแล้ว ยังป้องกันงูพิษได้ด้วย เอกลักษณ์แม่พิมพ์ พระกรุวัดตะไกร เนื้อดินเผา นั้น จะมีเอกลักษณ์สำคัญ คือ ที่ใต้ฐานจะมีรูรอยไม้เสียบทุกองค์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการใช้ไม้เสียบเพื่อนำองค์พระออกจากแม่พิมพ์
พระกรุ
Master Amulet
0952594245
03 มี.ค. 2566
โทรถาม
1,168